วันศุกร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2558

99วันฉันรักเธอThongPam

สวัสดีครับวีคนี้ก็สุดท้ายแล้วสินะ ผมก็อยากจะพูดถึงความรักของผมกับแพมให้ทุกคนได้รู้ในอีกแง่มุมนะครับมาเริ่มกันเลยดีกว่า

วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รีวิวapplication : line shop!!!!

นี่ๆๆๆรู้ยังว่าเดี่ยวนี้เขามีline shop กันแล้วใครๆที่แบบว่าเป็นนักขี้เกียจไรงี้นะ แค่นั่งกดๆจิ้มๆก็ได้ล้ะ เสื้อตัวนึง กระเป๋าใบ กางเกงชิ้นนึง โอ้ยยย ง่ายจะตายย เอ๊ๆๆๆๆๆๆแต่ดูเหมือนบางคนจะทำไม่เป็น วันนี้น้องทงมาขอเสนอ วิธีใช้ line shop จ้าาา

มาเริ่มเลยดีกว่า
ก่อนอื่นถ้าเครื่องใครไม่มีก็ควรที่จะโหลดนะจ๊ะ

เมื่อโหลดมาแล้ว มันก็ต้องอยู่ในเครื่องใช่ม้ะ หน้าตาต้องแบบนี้ 

จากนั้นกดเข้าไปเลยย!!!!
ถ้าอยากซื้อของอะไรได้ก็ต้องเข้าสู่ระบบก่อนสินั้นเอานิ้วจิ้ม เข้าสู่ระบบด้วยline เลยยย


จากนั้นให้เลือกคำว่า อนุญาต.  


ก็จะได้หน้าตาแบบนี้!!!

เรามาลองซื้อกันเลยดีกว่า 
อยากได้ชุดนี้จุงก็กด พูดคุยและสั่งซื้อเลย

จากนั้นเราก็ทำได้คุยกับพ่อค้าแม่ค้าและซื้อ แค่นี้ก็เสร็จพิธี ง่ายจะตายใช่ม้ะะะ....

วันนี้น้องทงมาเองก็ขอลาไปก่อน เจอกันweek หน้าละกัน

วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

Week 7 : คอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

น้องทงมาเองมาแล้วจ้าาาาา

               คอมพิวเตอร์ คือ อุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ (electronics device) ที่มนุษย์ใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการกับข้อมูล ที่อาจเป็นได้ ทั้งตัวเลข ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนความหมายในสิ่งต่าง ๆ โดยคุณสมบัติที่สำคัญของคอมพิวเตอร์คือการที่สามารถกำหนดชุดคำสั่งล่วงหน้าหรือโปรแกรมได้ (programmable) นั่นคือคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้หลากหลายรูปแบบ ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งที่เลือกมาใช้งาน ทำให้สามารถนำคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวาง เช่น ใช้ในการตรวจคลื่นความถี่ของหัวใจ การฝาก - ถอนเงินในธนาคาร การตรวจสอบสภาพเครื่องยนต์ เป็นต้น ข้อดีของคอมพิวเตอร์ คือ เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพ มีความถูกต้อง และมีความรวดเร็ว

               อย่างไรก็ดี ไม่ว่าจะเป็นงานชนิดใดก็ตาม เครื่องคอมพิวเตอร์จะมีวงจรการทำงานพื้นฐาน อย่าง (IPOS cycle) คือ
  1. รับข้อมูล (Input) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการรับข้อมูลจากหน่วยรับข้อมูล (input unit) เช่น คีบอร์ด หรือ เมาส์
  2. ประมวลผล (Processing) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการประมวลผลกับข้อมูล เพื่อแปลงให้อยู่ในรูปอื่นตามที่ต้องการ
  3. แสดงผล (Output) เครื่องคอมพิวเตอร์จะให้ผลลัพธ์จากการประมวลผลออกมายังหน่วยแสดงผลลัพธ์ (output unit) เช่น เครื่องพิมพ์ หรือจอภาพ
  4. เก็บข้อมูล (Storage) เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำการเก็บผลลัพธ์จากการประมวลผลไว้ในหน่วยเก็บข้อมูล เพื่อให้สามารถนำมาใช้ใหม่ได้ในอนาคต




รูปนี้คือ รูปภาพที่อธิบายถึงประเภทของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่วราจะพาไปทำความรู้จักนะคะ ไปกันเล๊ยย
                             
                            เครือข่ายคอมพิวเตอร์ คือ การนำเอาเครื่องคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องมาเชื่อมโยงให้มีการสื่อสารข้อมูลระหว่างกัน การเชื่อมโยงเครือข่ายต้องอาศัยตัวกลางหรือสายเชื่อมโยง เช่น สายสัญญาณ เส้นใยนำแสง ดาวเทียม
                       
                           เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หลายเครื่องมาเชื่อมต่อกัน   เพื่อวัตถุประสงค์ดังนี้ 
   - เพื่อให้ผู้ใช้สามารถติต่อสื่อสารกัน 
   - เพื่อให้ใช้ทรัพยากรร่วมกัน 
   - เพื่อใช้ข้อมูลหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งกันและกัน

                            ประเภทของระบบเครือข่าย แบ่งตามลักษณะการติดตั้งทางภูมิศาสตร์แบ่งได้เป็น 4 ประเภท




   1. เครือข่ายท้องถิ่น ( Local Area Network : LAN ) เป็นเครือข่ายระยะใกล้ ใช้บริเวณเฉพาะที่เช่นภายในอาคารเดียวกัน หรือภายในบริเวณเดียวกัน ระบบแลนจะช่วยให้มีการติดต่อกันได้สะดวก ช่วยลดต้นทุน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้งานอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ร่วมกัน และใช้ข้อมูลร่วมกันได้อย่างคุ้มค่า





  2. เครือข่ายระดับเมือง ( Metropolitan Area Network : MAN ) เป็นเครือข่ายขนาดกลางใช้ภายในเมืองหรือจังหวัด หรือเป็นกลุ่มของเครือข่าย LAN ที่นำมาเชื่อมต่อกันเป็นวงที่ใหญ่ขึ้นภายในพื้นที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งออกแบบมาเพื่อใช้งานให้ครอบคลุมเมืองทั้งเมือง ซึ่งอาจเป็นเครือข่ายเดียวกัน
เช่น เครือข่ายเคเบิลทีวี หรืออาจเป็นการรวมเครือข่ายกันของเครือข่าย LAN หลาย ๆ เครือข่ายเข้าด้วยกัน   ตัวอย่างเช่น เคเบิลทีวี



                             
3. เครือข่ายระดับประเทศ ( Wide Area Network : WAN ) เป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ ติดตั้งใช้งานบริเวณกว้างมีสถานีหรือจุดเชื่อมมากมาย และใช้สื่อกลางหลายชนิด ตัวอย่างเช่น ไมโครเวฟ ดาวเทียม


4. เครือข่ายระหว่างประเทศ ( International Network ) เป็นเครือข่ายที่ใช้ติดต่อระหว่างประเทศ โดยใช้สายเคเบิล หรือดาวเทียม

รูปแบบการเชื่อมต่อเครือข่าย มี 4 แบบค่ะ คือ
  1. เครือข่ายแบบบัส (bus topology)
  2. เครือข่ายแบบวงแหวน (ring topology)
  3. เครือข่ายแบบดาว (star topology)
  4. เครือข่ายแบบเแมช (mesh topology)


น้องทงขอบคุณ https://sites.google.com/site/wiparat0001/bth-thi-hnunghttp://krubpk.com/com_1/Content/Unit8.htm มากๆนะจ๊ะ

วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

4สถานบันเทิงชาวหลากสีใกล้บ้านผม (18+)

น้องทงมาเองก็อยากจะแนะนำให้เพื่อนๆที่สนใจที่เป็นสายเดียวกัน(สายเหลือง)มารู้จักสถานที่ท่องเที่ยวของชาวเราให้ได้รู้จักได้ไปลองชิมกับสิ่งที่อยู่ในนั้น  เรามาเริ่มที่ใกล้ๆบ้านก่อนดีกว่า บอกก่อนบ้านผมอยู่แถวรัชดา-ดินแดงครับจึงทำให้อยากแวะเวียนไปบ่อยๆ 

1.ที่แรก Red Beat รัชดาซอย 8
(ขอบคุณภาพจากedtguide)
ที่นี้เป็นบรรยากาศสบายๆ มีวงดนตรีเล่นสด และราคาไม่แพง
ที่อยู่ : อาคาร โครงการแมนชั่น 7 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 
เบอร์โทรศัพท์ Soi 8 Red Beat : 0813545313 
วันและเวลาเปิดปิดทำการ : เปิดทุกวัน เวลา 22.00 - 04.00 น.

2.G-STAR PUB 

(ขอบคุณภาพจากedtguide)
บอกเลยทีนี้เป็นที่โปรดของใครหลายคน เพราะมีเครื่องเดิมหลากหลายชนิด และยังมีโชว์หลายประเภทมาก น้องทงเองยังอยากจะแวะเวียนไปลองชิมๆบ้างเลย 

ที่อยู่ : 74/2 ซอยรัชดาภิเษก 8 ถนนรัชดาภิเษก แขวงห้วยขวาง เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 
เบอร์โทรศัพท์ G Star Pub 026438792 
วันและเวลาเปิดปิดทำการ : เปิดทุกวัน เวลา 22.00 - 02.00 น.

3.App arena 
(ขอบคุณภาพจาก posttoday)

สำหรับชาวเราแล้ว วันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ที่นี่คนจะแน่นมาก เพราะด้วยความที่จุดเด่นของร้านคือความอลัง แสงเลเซ้อต่างๆ ทำให้ร้านนี้ดูน่าสนใจตลอดเวลา 
ส่วนชื่อ App มาจาก “App แรก คือ Application , App ที่สอง คือ Apple คือความอุดมสมบูรณ์ และ App ที่สาม คือ แอ๊บ (แอ๊บแมน)

สถานที่ตั้ง รัชดา ซอย8
เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 21.00 น. มีที่จอดรถรองรับอย่างกว้างขวาง 
โทร. 08-1777-2187 หรือ 08-1777-2981ควรโทรจองโต๊ะตั้งแต่เนิ่นมิฉนั้นจะเต็ม

4.Fake Club The Next Gen (ใหม่ล่าสุด)
(ขอบคุณภาพจาก asia city)
บางคนอาจจะจำกันได้ว่าแต่เดิมมันอยู่ที่ อตก ซึ่งปัจจุบันได้ปิดตัวลงแล้วและได้มาเปิดใหม่ที่รัชดา ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ภายในกว้างขวางมาก พร้อมมีการตกแต่งด้วย mirror ball ถ้าใครยังไม่เคยลองFake Club The Next Gen ที่ควรรีบไปรับรองติดใจแน่นอน

สถานที่ตั้ง รัชดาซอย16 
เปิดบริการทุกวัน ตั้งแต่เวลา 21.00-03.00 น.
โทร 0917242999 








วันพฤหัสบดีที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 4 : โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์ (C)

ก่อนอื่นผมต้องขอแนะนำตัวอย่างเป็นทางการนะครับผมชื่อน้องทง(ธง)นะครับ วันนี้เนี้ยก็เป็นฤกษ์ดีมากๆเลยที่ผมจะมาสอนทุกคนให้รู้จักภาษาc ซึ่งผมพูดภาษานี้เก่งมากครับจึงอยากมาให้ความรู้แก่เพื่อนๆพี่น้องๆชาวน้องทงมาเองบล็อกทุกท่านครับ เราไปเริ่มกันเลยดีกว่าา ฟิ๊ววว............................

ภาษาซี (C) เป็นภาษาโปรแกรมสำหรับวัตถุประสงค์ทั่วไป เริ่มพัฒนาขึ้นระหว่าง พ.ศ. 2512-2516 (ค.ศ. 1969-1973) โดยเดนนิส ริชชี่ (Denis Retchie) ที่เอทีแอนด์ทีเบลล์แล็บส์ (AT&T Bell Labs) ภาษาซีมีเครื่องมืออำนวยความสะดวกสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้างและอนุญาตให้มีขอบข่ายตัวแปร (scope) และการเรียกซ้ำ (recursion) ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรอพลวัตก็ช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ตั้งใจหลายอย่าง เหมือนกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในแบบแผนของภาษาอัลกอล การออกแบบของภาษาซีมีคอนสตรักต์ (construct) ที่โยงกับชุดคำสั่งเครื่องทั่วไปได้อย่างพอเพียง จึงทำให้ยังมีการใช้ในโปรแกรมประยุกต์ซึ่งแต่ก่อนลงรหัสเป็นภาษาแอสเซมบลี คือซอฟต์แวร์ระบบอันโดดเด่นอย่างระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ยูนิกซ์ 
ภาษาซีเป็นภาษาโปรแกรมหนึ่งที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมากที่สุดตลอดกาล  และตัวแปลโปรแกรมของภาษาซีมีให้ใช้งานได้สำหรับสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์และระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เป็นส่วนมาก
ภาษาหลายภาษาในยุคหลังได้หยิบยืมภาษาซีไปใช้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างเช่น ภาษาดี ภาษาโก ภาษารัสต์ ภาษาจาวา จาวาสคริปต์ ภาษาลิมโบ ภาษาแอลพีซี ภาษาซีชาร์ป ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซี ภาษาเพิร์ล ภาษาพีเอชพี ภาษาไพทอนภาษาเวอริล็อก (ภาษาพรรณนาฮาร์ดแวร์)  และซีเชลล์ของยูนิกซ์ ภาษาเหล่านี้ได้ดึงโครงสร้างการควบคุมและคุณลักษณะพื้นฐานอื่น ๆ มาจากภาษาซี ส่วนใหญ่มีวากยสัมพันธ์คล้ายคลึงกับภาษาซีเป็นอย่างมากโดยรวม (ยกเว้นภาษาไพทอนที่ต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง) และตั้งใจที่จะผสานนิพจน์และข้อความสั่งที่จำแนกได้ของวากยสัมพันธ์ของภาษาซี ด้วยระบบชนิดตัวแปร ตัวแบบข้อมูล และอรรถศาสตร์ที่อาจแตกต่างกันโดยมูลฐาน ภาษาซีพลัสพลัสและภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีเดิมเกิดขึ้นในฐานะตัวแปลโปรแกรมที่สร้างรหัสภาษาซี ปัจจุบันภาษาซีพลัสพลัสแทบจะเป็นเซตใหญ่ของภาษาซี  ในขณะที่ภาษาอ็อบเจกทีฟ-ซีก็เป็นเซตใหญ่อันเคร่งครัดของภาษาซี [10]
ก่อนที่จะมีมาตรฐานภาษาซีอย่างเป็นทางการ ผู้ใช้และผู้พัฒนาต่างก็เชื่อถือในข้อกำหนดอย่างไม่เป็นทางการในหนังสือที่เขียนโดยเดนนิส ริตชี และไบรอัน เคอร์นิกัน (Brian Kernighan) ภาษาซีรุ่นนั้นจึงเรียกกันโดยทั่วไปว่า ภาษาเคแอนด์อาร์ซี(K&R C) ต่อมา พ.ศ. 2532 สถาบันมาตรฐานแห่งชาติของสหรัฐอเมริกา (ANSI) ได้ตีพิมพ์มาตรฐานสำหรับภาษาซีขึ้นมา เรียกกันว่า ภาษาแอนซีซี (ANSI C) หรือ ภาษาซี89 (C89) ในปีถัดมา องค์การระหว่างประเทศว่าด้วยการมาตรฐาน (ISO) ได้อนุมัติให้ข้อกำหนดเดียวกันนี้เป็นมาตรฐานสากล เรียกกันว่า ภาษาซี90 (C90) ในเวลาต่อมาอีก องค์การฯ ก็ได้เผยแพร่ส่วนขยายมาตรฐานเพื่อรองรับสากลวิวัตน์ (internationalization) เมื่อ พ.ศ. 2538 และมาตรฐานที่ตรวจชำระใหม่เมื่อ พ.ศ. 2542 เรียกกันว่า ภาษาซี99 (C99) มาตรฐานรุ่นปัจจุบันก็ได้รับอนุมัติเมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2554 เรียกกันว่า ภาษาซี11 (C11) 

ลักษณะเฉพาะ

ภาษาซีมีสิ่งอำนวยสำหรับการเขียนโปรแกรมเชิงโครงสร้าง และสามารถกำหนดขอบข่ายตัวแปรและเรียกซ้ำ เช่นเดียวกับภาษาโปรแกรมเชิงคำสั่งส่วนใหญ่ในสายตระกูลภาษาอัลกอล ในขณะที่ระบบชนิดตัวแปรแบบอพลวัตช่วยป้องกันการดำเนินการที่ไม่ได้ตั้งใจ รหัสที่ทำงานได้ทั้งหมดในภาษาซีถูกบรรจุอยู่ในฟังก์ชัน พารามิเตอร์ของฟังก์ชันส่งผ่านด้วยค่าของตัวแปรเสมอ ส่วนการส่งผ่านด้วยการอ้างอิงจะถูกจำลองขึ้นโดยการส่งผ่านค่าตัวชี้ ชนิดข้อมูลรวมแบบแตกต่าง (struct) ช่วยให้สมาชิกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันสามารถรวมกันและจัดการได้ในหน่วยเดียว รหัสต้นฉบับของภาษาซีเป็นรูปแบบอิสระ ซึ่งใช้อัฒภาค (;) เป็นตัวจบคำสั่ง (มิใช่ตัวแบ่ง)
ภาษาซียังมีลักษณะเฉพาะต่อไปนี้เพิ่มเติม
  • ตัวแปรอาจถูกซ่อนในบล็อกซ้อนใน
  • ชนิดตัวแปรไม่เคร่งครัด เช่นข้อมูลตัวอักษรสามารถใช้เป็นจำนวนเต็ม
  • เข้าถึงหน่วยความจำคอมพิวเตอร์ในระดับต่ำโดยแปลงที่อยู่ในเครื่องด้วยชนิดตัวแปรตัวชี้ (pointer)
  • ฟังก์ชันและตัวชี้ข้อมูลรองรับการทำงานในภาวะหลายรูปแบบ (polymorphism)
  • การกำหนดดัชนีแถวลำดับสามารถทำได้ด้วยวิธีรอง คือนิยามในพจน์ของเลขคณิตของตัวชี้
  • ตัวประมวลผลก่อนสำหรับการนิยามแมโคร การรวมไฟล์รหัสต้นฉบับ และการแปลโปรแกรมแบบมีเงื่อนไข
  • ความสามารถที่ซับซ้อนเช่น ไอ/โอ การจัดการสายอักขระ และฟังก์ชันทางคณิตศาสตร์ รวมอยู่ในไลบรารี
  • คำหลักที่สงวนไว้มีจำนวนค่อนข้างน้อย
  • ตัวดำเนินการแบบประสมจำนวนมาก อาทิ +=-=*=++ ฯลฯ
โครงสร้างการเขียน คล้ายภาษาบีมากกว่าภาษาอัลกอล ตัวอย่างเช่น
  • ใช้วงเล็บปีกกา { ... } แทนที่จะเป็น begin ... end ในภาษาอัลกอล 60 หรือวงเล็บโค้ง ( ... ) ในภาษาอัลกอล 68
  • เท่ากับ = ใช้สำหรับกำหนดค่า (คัดลอกข้อมูล) เหมือนภาษาฟอร์แทรน แทนที่จะเป็น := ในภาษาอัลกอล
  • เท่ากับสองตัว == ใช้สำหรับเปรียบเทียบความเท่ากัน แทนที่จะเป็น .EQ. ในภาษาฟอร์แทรนหรือ = ในภาษาเบสิกและภาษาอัลกอล
  • ตรรกะ "และ" กับ "หรือ" แทนด้วย && กับ || ตามลำดับ แทนที่จะเป็นตัวดำเนินการ ∧ กับ ∨ ในภาษาอัลกอล แต่ตัวดำเนินการดังกล่าวจะไม่ประเมินค่าตัวถูกดำเนินการทางขวา ถ้าหากผลลัพธ์จากทางซ้ายสามารถพิจารณาได้แล้ว เหตุการณ์เช่นนี้เรียกว่าการประเมินค่าแบบลัดวงจร (short-circuit evaluation) และตัวดำเนินการดังกล่าวก็มีความหมายต่างจากตัวดำเนินการระดับบิต & กับ |

คุณลักษณะที่ขาดไป

ธรรมชาติของภาษาในระดับต่ำช่วยให้โปรแกรมเมอร์ควบคุมสิ่งที่คอมพิวเตอร์กระทำได้อย่างใกล้ชิด ในขณะที่อนุญาตให้มีการปรับแต่งพิเศษและการทำให้เหมาะที่สุดสำหรับแพลตฟอร์มหนึ่งใดโดยเฉพาะ สิ่งนี้ทำให้รหัสสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพบนฮาร์ดแวร์ที่มีทรัพยากรจำกัดมาก ๆ ได้เช่นระบบฝังตัว
ภาษาซีไม่มีคุณลักษณะบางอย่างที่มีในภาษาอื่นอาทิ
  • ไม่มีการนิยามฟังก์ชันซ้อนใน
  • ไม่มีการกำหนดค่าแถวลำดับหรือสายอักขระโดยตรง (การคัดลอกข้อมูลจะกระทำผ่านฟังก์ชันมาตรฐาน แต่ก็รองรับการกำหนดค่าวัตถุที่มีชนิดเป็น struct หรือ union)
  • ไม่มีการเก็บข้อมูลขยะโดยอัตโนมัติ
  • ไม่มีข้อกำหนดเพื่อการตรวจสอบขอบเขตของแถวลำดับ
  • ไม่มีการดำเนินการสำหรับแถวลำดับทั้งชุดในระดับตัวภาษา
  • ไม่มีวากยสัมพันธ์สำหรับช่วงค่า (range) เช่น A..B ที่ใช้ในบางภาษา
  • ก่อนถึงภาษาซี99 ไม่มีการแบ่งแยกชนิดข้อมูลแบบบูล (ค่าศูนย์หรือไม่ศูนย์ถูกนำมาใช้แทน) 
  • ไม่มีส่วนปิดคลุมแบบรูปนัย (closure) หรือฟังก์ชันในรูปแบบพารามิเตอร์ (มีเพียงตัวชี้ของฟังก์ชันและตัวแปร)
  • ไม่มีตัวสร้างและโครูทีน การควบคุมกระแสการทำงานภายในเทร็ดมีเพียงการเรียกใช้ฟังก์ชันซ้อนลงไป เว้นแต่การใช้ฟังก์ชัน longjmp หรือ setcontext จากไลบรารี
  • ไม่มีการจัดกระทำสิ่งผิดปรกติ (exception handling) ฟังก์ชันไลบรารีมาตรฐานจะแสดงเงื่อนไขข้อผิดพลาดด้วยตัวแปรส่วนกลาง errno และ/หรือค่ากลับคืนพิเศษ และฟังก์ชันไลบรารีได้เตรียม goto แบบไม่ใช่เฉพาะที่ไว้ด้วย
  • การเขียนโปรแกรมเชิงมอดูลรองรับแค่ระดับพื้นฐานเท่านั้น
  • การโอเวอร์โหลดฟังก์ชันหรือตัวดำเนินการไม่รองรับภาวะหลายรูปแบบขณะแปลโปรแกรม
  • การเขียนโปรแกรมเชิงวัตถุรองรับในระดับที่จำกัดมาก โดยพิจารณาจากภาวะหลายรูปแบบกับการรับทอด (inheritance)
  • การซ่อนสารสนเทศ (encapsulation) รองรับในระดับที่จำกัด
  • ไม่รองรับโดยพื้นฐานกับการทำงานแบบมัลติเทร็ดและเครือข่ายคอมพิวเตอร์
  • ไม่มีไลบรารีมาตรฐานสำหรับคอมพิวเตอร์กราฟิกส์และความจำเป็นหลายอย่างในการเขียนโปรแกรมประยุกต์
คุณลักษณะเหล่านี้จำนวนหนึ่งมีให้ใช้ได้จากส่วนขยายในตัวแปลโปรแกรมบางตัว หรือจัดสรรไว้แล้วในสภาพแวดล้อมของระบบปฏิบัติการ (เช่นโพสซิกซ์) หรือจัดเตรียมโดยไลบรารีภายนอก หรือสามารถจำลองโดยดัดแปลงแก้ไขรหัสที่มีอยู่ หรือบางครั้งก็ถูกพิจารณาว่าไม่ใช่รูปแบบการเขียนโปรแกรมที่เหมาะสม


เป็นยังไงกันบ้างล้ะครับสำหรับภาษาc เข้าใจมากน้อยแค่ไหนครับวันนี้น้องทงก็จะมานำเสนอเพียงเท่านี้นะครับ ก็ขอบคุณเนื้อหาดีๆเกร๋ๆจาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A9%E0%B8%B2%E0%B8%8B%E0%B8%B5 ด้วยนะครับ ที่ให้ความรู้ต่างๆนาๆแด่เพื่อนๆพี่ๆน้องๆชาวน้องทงมาเองบล็อก 

ก่อนจะลากันไปผมขอฝากภาพน่ารักๆตัวผมเองให้กับทุกคนนะครับ 

ฝันดีครับ


วันศุกร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2558

Week 3 : Social Network กับนักเรียนและสังคมไทย

ไม่บนโลกsocial network นั้นก็คือเครือข่ายออนไลน์ ที่เป็นสิ่งอำนวยความสะดวกโดยเชื่อมจากบุคคลหนึ่งไปยังเพื่อนอีกนับสิบผ่านบริการต่างๆบนsocial network เช่น facebook twitter line skype หรือจะเป็นapplicationบนมือถือต่างๆ แต่ทราบหรือไม่ว่าหากเราใช้ พวกsocial network นี้เป็นเวลานานๆก็อาจจะเกิดผลเสียแก่ตัวเองและคนรอบข้างดังนี้

1. ไม่พูดคุยกับคนรอบข้างเพราะต่างฝ่ายต่างสนใจแต่social 
2.โรคซึมเศร้าโดยไม่รู้ตัว

3.ทำให้เสียสุขภาพเป็นคนนอนดึก
4.เสียความเป็นส่วนตัวต่างๆ
5.เสียเวลาชีวิต